xanga tracking
herbs-in-manman
manman clip
herbs-in-manman  flowermanman
manman.flixya
 hellomanman
 happy-topay
 invite-buying
 men-women-apparel

sex shop
diarylovemanman
 homemanman
 menmen-love
alovemanman
news-the-world
 foodmanman
 ghost-in-manman
 U.F.O.manman
herbs-in-manman
 manman

Friends talk contact man love
manes2006@ovi.com

Recommended.

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

การขลิบ Circumcision

การขลิบ Circumcision

ปัจจุบันนิยมการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศตั้งแต่ยังเป็นเด็กทารกโดยอาจจะมีเหตุผลทางศาสนา หรือความเชื่อตั้งแต่อดีตว่าการขลิบสามารถป้องกันมะเร็งได้ ปัจจุบันสมาคมกุมารแพทย์ประเทศอเมริกาไม่แนะนำให้ทำการขลิบหนังปลายอวัยวะเพศให้กับเด็กทุกคน พ่อแม่ควรจะปรึกษากับแพทย์ถึงผลดีผลเสียของการขลิบ

ผลดีที่คาดว่าจะได้รับจากการขลิบ

*การขลิบจะลดการติดเชื้อและการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศซึ่งจะลดการเกิดมะเร็งที่อวัยวะเพศ
*การขลิบจะป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
*การขลิบจะลดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจะทำให้เกิดโรคไต
*การขลิบจะทำให้ทำความสะอาดปลายอวัยวะเพศได้ง่าย
*การขลิบตั้งแต่เด็กจะป้องกันการขลิบหนังหุ้มปลายในตอนแก่
ป้องกันการอักเสบของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ

ข้อเสียของการขลิบ

*อาจจะทำให้เลือดออกหรือติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด
*การขลิบจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวด ผู้ปกครองควรจะปรึกษากับแพทย์เรื่องการใช้ยาระงับอาการเจ็บปวด
*การขลิบเป็นการป้องกัน แต่ยังไม่มีหลักประกันว่าหลังขลิบจะปลอดภัยจากการเป็นโรคติดเชื้อหรือมะเร็ง
*ตัดหนังหุ้มปลายมากหรือน้อยเกินไป
*การขลิบจะทำให้ปลายอวัยวะเพศถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้ลดความต้องการทางเพศ

วิธีการขลิบ

*ในเด็กจะให้อดอาหารก่อนทำ แต่สำหรับผู้ใหญ่ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร ผู้ป่วยนอนราบบนเตียง สำหรับเด็กต้องจับหรือมัดแขนขา
*ทำความสะอาดอวัยวะเพศและส่วนหัวเหน่าด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
*ฉีดยาชาที่บริเวณหัวเหน่า
*ตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ แล้วเย็บ ใช้ผ้าทำแผลปิดแผล
*ทำความสะอาดแผลทุกวัน

 


หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศซึ่งไม่สามารถเปิดได้อย่างเต็มที่ ทำให้ไม่สามารถทำความสะอาด



หนังหุ้มปลายอวัยวะเพศที่มีการอักเสบ ผิวหนังส่วนปลายจะมีสีแดงและเจ็บ



หนังหุ้มปลายซึ่งถูกตัดออกเรียบร้อย



ข้อมูลเพิ่มเติม
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Male circumcision) กับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี
จริงอยู่ การขลิบสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีใน ?ผู้ชาย? ได้แต่ก็ไม่ใช่ 100% ฉะนั้นในการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างจะต้องประชาสัมพันธ์ให้เห็นว่าการขลิบเป็น ?ทางเลือกหนึ่ง? ที่ทำให้ลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ แต่ต้องทำควบคู่ไปกับวิธีป้องกันอื่นๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย การมีสุขอนามัยที่ดีในการดูแลอวัยวะเพศชาย
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ?คืออะไร??
คือ การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายบางส่วนหรือทั้งหมดออกไปอย่างถาวร ตามประเพณีของบางศาสนาหรือเชื้อชาติจะตัดออกประมาณ 1-2 เซนติเมตร หรืออาจตัดออกประมาณ 4 เซนติเมตร หากทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ ในทั่วโลก มีผู้ชายที่อายุมากกว่า 15 ปี ประมาณ 665 ล้านคนที่ขลิบอวัยวะเพศ (ประมาณ 30% ของผู้ชาย) ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายมุสลิม ยิว และผู้ชายอเมริกัน

โดยทั่วไปแพทย์จะทำการขลิบเฉพาะเมื่อคนไข้มีความลำบากในการรูดเปิดหรือปิดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแต่จริงๆ แล้วความเชื่อทางศาสนา รวมถึงลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ผู้ชายทั่วโลกส่วนใหญ่ได้รับการขลิบ
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เพราะอะไร?

ผิวด้านในของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย เป็นบริเวณที่มีจำนวนเซลล์รับเชื้อเอชไอวีอยู่ปริมาณมาก และเซลล์จะอยู่ในตำแหน่งที่ตื้นมาก นอกจากนี้ยังสามารถฉีกขาด ถลอก ทำให้ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่างๆ ได้ง่าย

การขลิบ จะเป็นการลดบริเวณผิวด้านในของหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายทำให้ลดพื้นที่รับเชื้อเอชไอวีลงได้

การขลิบ ทำให้ผิวหนังบริเวณปลายอวัยวะเพศซึ่งไม่โดนหุ้มไว้นั้น หนาตัวขึ้น และยังแห้งเร็วขึ้น หลังการมีเพศสัมพันธ์ ทำให้โอกาสเกิดแผลน้อย และติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์น้อยลง เชื้อโรคตายเร็วขึ้น

การขลิบ ยังอาจช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี จากการที่เยื่อบุบริเวณนั้นได้สัมผัสเชื้อปริมาณต่ำๆ อยู่เรื่อยๆ โดยไม่ได้ติดเชื้อแต่กลับกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันต่อเอชไอวีขึ้นมา


การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายจะป้องกัน ?ใคร? จากการติดเชื้อเอชไอวี?

การขลิบจะสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีใน ?ผู้ชาย? ที่มีเพศสัมพันธ์โดยการสอดใส่อวัยวะเพศชายเข้าไปทาง ?ช่องคลอด? ผู้หญิง และเป็นการป้องกันเพียง ?บางส่วน? เท่านั้น (ไม่ใช่ 100%)

เรายังไม่ทราบว่าการที่ผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่ขลิบนั้น จะช่วยป้องกันผู้หญิงโดยตรงจากการติดเชื้อเอชไอวีได้หรือไม่ แต่หากผู้ชายที่ขลิบมีจำนวนเพิ่มขึ้น แล้วติดเชื้อเอชไอวีน้อยลง ก็ย่อมจะส่งผลทางอ้อมให้ผู้หญิงติดเชื้อน้อยลงได้ในอนาคต

เรายังไม่ทราบว่าการที่ผู้ชายหรือผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายที่ขลิบโดยเป็นฝ่ายรับทางทวารหนักจากผู้ชายที่ขลิบนั้น จะช่วยป้องกันผู้ชายหรือผู้หญิงเหล่านี้ไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีโดยตรงได้หรือไม่ เรายังไม่ทราบว่าการขลิบจะช่วยป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีในผู้ชายที่เป็นฝ่ายสอดใส่ทางทวารหนักได้หรือไม่

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะป้องกันผู้ชายจากการติดเชื้อเอชไอวีได้เพียงใด?

ข้อมูลจากการศึกษาแบบ randomized controlled trials 3 การศึกษาพบว่า การขลิบให้ผลการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ประมาณ 50-60%

หากมีการส่งเสริมการขลิบใน sub-Saharan Africa ได้สำเร็จ คาดว่าจะสามารถป้องกันการติดเชื้อรายใหม่ได้ 2 ล้านราย และป้องกันการตายได้ 3 แสนรายในช่วง 10 ปีข้างหน้า

ผลการป้องกันจะเห็นได้ชัดเจน ในประเทศที่มีความชุกของเอชไอวีสูงและมีอัตราการขลิบต่ำ โดยจะต้องเพิ่มอัตราการขลิบในผู้ชายขึ้นเป็น 50-80% หรือ ต้องส่งเสริมการขลิบในทารก เด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยรุ่น ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกกว่า 10-20 ปีจึงจะเห็นผลการติดเชื้อเอชไอวีลดลงได้ชัดเจน
การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มีประโยชน์อะไรอีกนอกเหนือจากการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี?

ผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดซิฟิลิส และแผลริมอ่อน รวมถึงลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย

ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (trichomonas, bacterial vaginosis, Chlamydia trachomatis) และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่งอาจเกิดจากการลดการถ่ายทอดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV)

เมื่อไหร่ที่ควรทำการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย?

การขลิบในเด็กทารกจะสามารถทำได้ง่ายกว่า และปลอดภัยกว่าการทำในผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม เราไม่ควรไปตัดสินใจแทนเด็ก ควรรอจนเด็กโตหรือเป็นผู้ใหญ่ก่อน เพราะบางคนอาจคิดว่าเด็กควรมีสิทธิที่จะตัดสินใจได้เองว่าจะขลิบหรือไม่

ใช้เวลานานเท่าไหร่ แผลการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายถึงจะหายสนิท?

ผู้ชายที่ได้รับการขลิบ ควรจะต้องงดการมีกิจกรรมทางเพศอย่างน้อย 6 สัปดาห์หลังการขลิบ เพื่อให้แผลหายสนิท

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงโดยทั่วไปเกิดน้อยกว่า 4% และขึ้นอยู่กับสุขอนามัยและความชำนาญของผู้ทำการขลิบ โดยผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้ คือ เลือดออกมาก ติดเชื้อ เจ็บมาก แพ้ยาชา และถ้าตัดหนังหุ้มปลายออกมากเกินไปอาจเกิดความเสียหายต่ออวัยวะเพศ ไม่สวยงาม รวมทั้งอาจเกิดผลข้างเคียงทางจิตใจและพฤติกรรม เป็นต้น

การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย จะทำให้ความรู้สึกทางเพศเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ชายที่ขลิบ และผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบ ให้คำตอบว่าความรู้สึกทางเพศมีทั้งดีขึ้นและแย่ลง

ผู้ชายที่ได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายแล้ว จะยิ่งมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมากขึ้น เนื่องจากคิดว่าการขลิบช่วยป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อได้แล้วหรือไม่?

จากการศึกษาต่างๆ ซึ่งติดตามระยะสั้น ประมาณปีครึ่งถึงสองปี ไม่พบว่าผู้ชายที่ขลิบมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลระยะยาว รวมถึงข้อมูลในชีวิตจริงนอกการศึกษาว่าจะเป็นอย่างไร

การส่งเสริมการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถมาทดแทนวิธีการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีอื่นๆ ได้เลยหรือไม่?

จริงอยู่ การขลิบสามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีใน ?ผู้ชาย? ได้แต่ก็ไม่ใช่ 100% ฉะนั้นในการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างจะต้องประชาสัมพันธ์ให้เห็นว่าการขลิบเป็น ?ทางเลือกหนึ่ง? ที่ทำให้ลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ แต่ต้องทำควบคู่ไปกับวิธีป้องกันอื่นๆ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย การมีพฤติกรรมทางเพศที่ปลอดภัย การมีสุขอนามัยที่ดีในการดูแลอวัยวะเพศชาย

ที่สำคัญ ต้องไม่ให้ผู้ชายเอาการขลิบมาอ้างเป็นเหตุผลที่จะไม่ใช้ถุงยางอนามัย เพราะจะยิ่งทำให้เกิดผลเสียต่อผู้หญิงที่มีอำนาจต่อรองการใช้ถุงยางอนามัยน้อยอยู่แล้ว

ข้อมูลการยอมรับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายเป็นอย่างไรบ้าง?

จากการศึกษาในแอฟริกา พบว่าผู้ชายประมาณ 65% เต็มใจที่จะให้ขลิบ ขณะที่ผู้หญิงประมาณ 69% เต็มใจที่จะให้คู่ของตัวเองขลิบ และประมาณ 81% ของทั้งผู้ชายและผู้หญิง เต็มใจที่จะให้ลูกชายของตัวเองขลิบ

อุปสรรคสำคัญที่จะทำให้ไม่ยอมรับการขลิบ คือ ค่าใช้จ่าย การกลัวเจ็บ และการห่วงเรื่องความปลอดภัย ส่วนสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดการยอมรับการขลิบ ก็คือ การทราบถึงประโยชน์ทางด้านสุขภาพที่จะเกิดขึ้น และสุขอนามัยทางเพศที่ดีขึ้น รวมถึงการเก็บรักษาความลับที่ดีของสถานพยาบาล

ผู้ติดตาม