xanga tracking
herbs-in-manman
manman clip
herbs-in-manman  flowermanman
manman.flixya
 hellomanman
 happy-topay
 invite-buying
 men-women-apparel

sex shop
diarylovemanman
 homemanman
 menmen-love
alovemanman
news-the-world
 foodmanman
 ghost-in-manman
 U.F.O.manman
herbs-in-manman
 manman

Friends talk contact man love
manes2006@ovi.com

Recommended.

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

กามสูตรและภาพ

กามสูตรและภาพ
กามสูตร (ภาษาสันสกฤต : कामसूत्र, กามสูตฺร) เป็นคัมภีร์อินเดียสมัยโบราณ ว่าด้วยเพศศึกษา หรือพฤติกรรมทางเพศของมนุษย์ ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าเป็นผลงานมาตรฐานว่าด้วยความรัก ในวรรณคดีสันสกฤต เขียนโดยวาตสยายน (วาต-สยา-ยะ-นะ) โดยมีชื่อเต็มว่า "วาตฺสฺยายน กาม สูตฺร" (คัมภีร์ว่าด้วยความรักของวาตสยายน) นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในด้านสังคมวิทยาและแพทยศาสตร์ ด้วย

เชื่อกันว่า วาตสยายน ผู้เขียนคัมภีร์เล่มนี้ มีชีวิตอยู่ในราว คริสต์ศตวรรษ ที่ 1 - 6 อาจจะอยู่ในสมัยคุปตะ ของอินเดีย แต่ไม่สามารถระบุเวลาได้แน่ชัด

คัมภีร์กามสูตรประกอบด้วยโศลก 1,250 บท แบ่งเป็น 7 อธิกรณ์ (ภาค), 14 ปกรณ์ (ตอน) และ 36 อธยายะ (บท) ดังนี้

1.สาธารณะ (Sadharna) (5 บท) ว่าด้วยความรัก การจำแนกประเภทของสตรี
2.สัมปรโยคิกะ (Samparayogika) (10 บท) ว่าด้วยการจูบ การเล้าโลม การแสดงท่าร่วมรัก
3.กันยาสัมปรยุกตกะ (Kanya Samprayuktaka) (5 บท) ว่าด้วยการเลือกหาภรรยา การเกี้ยวพาราสี และการแต่งงาน
4.ภรรยาธิการิกะ (Bharyadhikarika) (2 บท) ว่าด้วยการประพฤติตัวอย่างเหมาะสมของภรรยา
5.ปารทาริก (Paradika) (6 บท) ว่าด้วยการแอบมีชู้กับภรรยาคนอื่น หลักศีลธรรม
6.ไวศิกะ (Vaisika) (6 บท) ว่าด้วยหญิงคณิกา โสเภณี
7.เอาปนิษทิกะ (Aupamishadika) (2 บท) ว่าด้วยการสร้างเสน่ห์ให้ตนเอง
กามสูตรกล่าวถึงท่าทางการร่วมเพศ64 ท่า โดยเป็นการรวมวิธีร่วมรัก 8 วิธี และท่าเฉพาะของแต่ละวิธี 8 ท่า รวมทั้งหมด 64 ท่า ในคัมภีร์นี้เรียกว่า ศิลปะทั้ง 64 วาตสยายนเชื่อว่าเรื่องเพศนั้นไม่ใช่สิ่งผิด แต่การกระทำที่ผิดศีลธรรมเท่านั้นที่เป็นบาป

คัมภีร์กามสูตร เป็นคำสอนสำหรับหญิงชายที่ให้ความรู้ด้านเพศศึกษาอย่างครบถ้วน และละเอียด อย่างน่าพิศวง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงศีลธรรมและการปฏิบัติทางเพศในอินเดียสมัยนั้นด้วย

คัมภีร์เรื่องนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆ อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในภาษาอังกฤษที่เซอร์ ริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน เมื่อ ค.ศ.1883
ภาพประกอบเพื่อการเรียนรู้






























จบการนำเสนอ

ผู้ติดตาม